messager
 
เทศบาลตำบลไชยวาน call ข้อมูลการติดต่อ


เทศบาลตำบลไชยวาน
อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
insert_drive_file สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลไชยวานมีเนื้อที่ 10.4 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ 191 หมู่ที่ 2 บ้านไชยวาน ถนนไชยวาน-ศรีธาตุอยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 62 กิโลเมตร เทศบาลตำบลไชยวานจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เดิมเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล ฐานะเป็นสุขาภิบาลไชยวาน และต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั้งหมดทั่วประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นผลให้สุขาภิบาลไชยวาน เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลไชยวานตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 เทศบาลตำบลไชยวานได้ปรับขนาดเทศบาล จากเทศบาลขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง
ประชากร/หมู่บ้าน เทศบาลตำบลไชยวานมีทั้งหมดจำนวน10หมู่บ้าน
ข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2558 สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น(ผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 - จำนวนผู้มีสิทธิ 6,168 คน - จำนวนผู้ไปใช้สิทธิ 3,936 คน - คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 63.81 % - จำนวนบัตรเสีย 73 ใบ - คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 1.85 %
ที่ตั้งอาณาเขตเขตการปกครองของเทศบาลตำบลไชยวาน
ด้านเหนือตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) – ศรีธาตุ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ไปทางทิศตะวันตก ระยะ 500 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน- คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22(บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน- คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) -ศรีธาตุ ตามแนวทางหลวง จังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) -ศรีธาตุไปทิศตะวันออกผ่านห้วยเอเฮ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออก ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ไปทิศตะวันออก ระยะ 800 เมตร จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งอยู่ริมถนน รพช.อุดรธานี 11010 ไชยวาน-คำบอน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ไปทิศตะวันออก ระยะ 800 เมตร จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนไปบ้านหนองแซง ถึง หลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแซง ฟากตะวันตกตรงจุดที่อยู่ห่าง จากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ตามแนวถนนไปบ้านหนองแซง ไปทางทิศใต้ ระยะ 1,200 เมตร ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านห้วยกุดลม และ ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตัดกับ ถนนไปบ้านหนองแวง ตามแนว ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศใต้ ระยะ 2,200 เมตร จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทิศตะวันตกระยะ 500 เมตร ถึงหลักเขตที่ 8 ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ระยะ 500 เมตร ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านหนองแวงและถนนไปบ้านคำยาง บรรจบหลักเขตที่ 1
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมสามฤดู - ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม - ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนโดยเฉลี่ยปริมาณ สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรในเขตเทศบาลตำบลไชยวานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่การทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์เช่นโคกระบือเลี้ยงสัตว์น้ำนอกจากนี้ยังมีอาชีพค้าขายรับจ้างผลผลิตที่สำคัญได้แก่ข้าวอ้อยมันสำปะหลังและพืชผักสวนครัว - ด้านการพาณิชย์ภายในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีสถานบริการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่นได้แก่ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านเสริมสวยร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าร้านซ่อมเครื่องยนต์และร้านถ่ายรูปเป็นต้น - ประชากรในเขตเทศบาลมีรายได้จากการรวมกลุ่มผลิตสินค้าเช่นประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ทำเครื่องจักรสานทำน้ำพริกสมุนไพรซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้พอสมควร ด้านการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลไชยวานมีสถานที่ที่จัดให้มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่สวนสาธารณะหนองไชยวานและมีกมโลเจดีฐ์วัดป่าสันติกาวาสองค์หลวงปู่วัดกู่แก้ววิทยารามซึ่งเป็นโบราณวัตถุเก่าแก่เป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไป ด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีวัดทั้งหมด10วัดดังนี้ 1. วัดป่าสันติกาวาส 6. วัดอุดมมงคล 2. วัดกู่แก้ววิทยาราม 7. วัดป่าไชยวาน 3. วัดโพธิ์ทอง 8. วัดมงคลศรีไชยวาน 4. วัดไชยนาถวราราม 9. วัดโนนสังกา 5. วัดท่าบ่อวารีรินทร์ 10. วัดศรีเพียปู่ มีประเพณีตาม ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ที่สำคัญดังนี้ 1. ประเพณีเดือนอ้าย ( เดือนธันวาคม) ประเพณีเข้ากรรม 2. ประเพณีเดือนยี่ (เดือน มกราคม) ประเพณีทำบุญข้าวคูณลาน 3. ประเพณีเดือนสาม (เดือน กุมภาพันธ์) ประเพณีบุญข้าวจี่ 4. ประเพณีเดือนสี่ (เดือนมีนาคม) ประเพณีบุญมหาชาติ บุญผะเหวด 5. ประเพณีเดือนห้า (เดือน เมษายน) ประเพณีสงกรานต์ 6. ประเพณีเดือนหก (เดือนพฤษภาคม) ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญสรงกู่ 7. ประเพณีเดือนเจ็ด (เดือนมิถุนายน) ประเพณีบุญเบิกบ้าน,บุญเลี้ยงอาฮักหลักบ้าน, บุญเลี้ยงผีตาแฮก 8. ประเพณีเดือนแปด (เดือนกรกฎาคม) ประเพณีบุญข้าวพรรษา 9. ประเพณีเดือนเก้า (เดือนสิงหาคม) ประเพณีบุญข้าวประดับดิน 10. ประเพณีเดือนสิบ (เดือนกันยายน)ม ประเพณีบุญเข้าสากหรือข้าวสารท 11. ประเพณีเดือนสิบเอ็ด (เดือนตุลาคม) ประเพณีบุญออกพรรษา 12.ประเพณีเดือนสิบสอง (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีบุญกฐิน,ประเพณีลอยกระทง ด้านการศึกษา เทศบาลตำบลไชยวานมีโรงเรียนทั้งหมด 4 แห่ง คือ 1. โรงเรียนไชยวานวิทยา (โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา) 2. โรงเรียนอนุบาลไชยวาน (สังกัดสพฐ เขต 3) 3. โรงเรียนเพียปู่- หนองเรือ (สังกัดสพฐ เขต 3) 4. โรงเรียนร่มเกล้า2 (สังกัดสพฐ เขต 3) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง คือ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบ่อวารีรินทร์ (สังกัดกรมศาสนา) 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไชยนาถวราราม (สังกัดกรมศาสนา) 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอุดมมงคล (สังกัดกรมศาสนา) 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียปู่-หนองเรือ (สังกัดกรมพัฒนาชุมชน) 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลไชยวาน (สังกัดสปช.) และมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง ด้านสาธารณสุข เทศบาลตำบลไชยวานมีโรงพยาบาลจำนวน1แห่งคือโรงพยาบาลไชยวานขนาด30เตียง มีสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง มีร้านขายยา จำนวน 5 แห่ง มีอัตราการใช้ส้วมราดน้ำครบทุกครัวเรือน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม/ขนส่ง มีการติดต่อทางบกทางเดียวโดยมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข2239ตัดผ่านทางทิศตะวันตกถนนร.พ.ช. อด. 11010ตัดผ่านกลางชุมชนเชื่อมหมู่บ้านต่างๆภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียงมีรถโดยสารประจำทางจากเทศบาลตำบลไชยวานถึงอุดรธานีวันละ10เที่ยวและมีรถศรีธาตุหนองหานผ่านทุก30นาทีการบริการรถโดยสารประจำทางไม่มีปัญหาในการเดินทาง การบริการไฟฟ้า ภายในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนมีบริการไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะทางหลวงจังหวัดและถนนสายหลักทุกหมู่บ้าน การประปา เทศบาลตำบลไชยวานได้รับโอนกิจการประปาจากกรมโยธาธิการและเทศบาลตำบลไชยวานได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนแล้ว จำนวน1,751ครัวเรือนสามารถผลิตน้ำประปาได้1,178,467 ลิตร/วันมีรายได้จากกิจการประปา3,371,858.-บาท(ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2554) การสื่อสารและการคมนาคม เทศบาลตำบลไชยวานมี ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 15 แห่ง หอกระจายข่าวในพื้นที่เทศบาล จำนวน 10 แห่ง แหล่งน้ำ เทศบาลตำบลไชยวานมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค จำนวน 8 แห่ง ดังนี้ 1. หนองไชยวาน 5. หนองยาง 2. หนองเพียปู่ 6. ห้วยกุดลม 3. หนองชาด 7. ห้วยเอเฮ 4. หนองตูม 8. หนองเรือ