เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลไชยวาน มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
เทศบาลตำบลไชยวาน
อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
เทศบาลตำบลไชยวาน
home
เมนูหลัก (Main)
sentiment_very_satisfied
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2567
image
ป้ายประชาสัมพันธ์
insert_drive_file
ข่าวประชาสัมพันธ์
picture_as_pdf
ประกาศรับสมัครงาน
camera_alt
ภาพกิจกรรม
picture_as_pdf
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
thumb_up
กระดานสนทนา
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง e-GP
cast
rss egp
today
ส่วนราชการ
account_box
คณะผู้บริหาร
account_box
ฝ่ายสภา
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
account_box
สำนักปลัด
account_box
กองคลัง
account_box
กองช่าง
account_box
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
account_box
กองสวัสดิการสังคม
account_box
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
account_box
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
account_box
กองประปา
account_box
หน่วยตรวจสอบภายใน
info
ข้อมูลหน่วยงาน
info_outline
ประวัติความเป็นมา
insert_drive_file
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
place
สถานที่ท่องเที่ยว
image
สถานที่ท่องเที่ยว
image
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
cloud_download
ดาวน์โหลดเอกสาร
arrow_forward
สำนักปลัด
arrow_forward
กองคลัง
arrow_forward
กองช่าง
arrow_forward
กองการศึกษา
arrow_forward
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
arrow_forward
กองสวัสดิการสังคม
call
ข้อมูลการติดต่อ
เทศบาลตำบลไชยวาน
อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
info_outline
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า “ สุขาภิบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ” จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ เดิมตั้งอยู่ที่ กองร้อย อ.ส. ภายในพื้นที่ว่าการอำเภอไชยวาน โดยมีนายอำเภอไชยวาน เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลไชยวานและมี นายปริญญา ประสมศรี เป็นรองประธานกรรมการสุขาภิบาลไชยวาน และให้มีเขตดังต่อไปนี้ ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ไปทางทิศตะวันตก ระยะ ๕๐๐ เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๒ เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศตะวันออกผ่านห้วยเอเฮ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออก ด้านตะวันออกจากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ที่จุดที่อยู่ห่างจากจุดศุนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ไชยวาน -คำบอน ตามแนวถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ไปทางทิศตะวันออก ระยะ ๘๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๔ เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางถนน ไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ไปทางทิศตะวันออก ระยะ ๘๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๕ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนไปบ้านหนองแซง ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแซง ฟากตะวันตกที่จุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ตามแนวถนนไปบ้านหนองแซง ไปทางทิศใต้ ระยะ ๑,๒๐๐ เมตร ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๖เป็นเส้นตรงไปทางทิศะวันตกเฉียงเหนือผ่านห้วยกุดลมและทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตัดกับ ถนนไปทางหนองแวง ตามแนวทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ไปทางทิศใต้ ระยะ ๒,๒๐๐ เมตร จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ไปทางทิศตะวันตก ระยะ ๕๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๘ ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ระยะ ๕๐๐ เมตร ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านหนองแวงและถนนไปบ้านคำยาง บรรจบหลักเขตที่ ๑ ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั้งหมดทั่วประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เป็นผลให้สุขาภิบาลไชยวานเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “ เทศบาลไชยวาน ” ตั้งแต่ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ เทศบาลตำบลไชยวาน ได้ปรับขนาดเทศบาล จากเทศบาลขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๐.๔ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ ๑๙๑ หมู่ที่ ๒ บ้านไชยวาน ถนนไชยวาน - ศรีธาตุ อยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี ๖๔ กิโลเมตร เทศบาลตำบลไชยวาน มีทั้งหมดจำนวน ๑๐ หมู่บ้าน โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลไชยวาน ดังนี้ ๑. นายสมพงษ์ ศรีเข่ง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๔) ๒. นายสมศรี เสียงเลิศ (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๔– ๒๕๔๕) ๓. นายอุทัย แสนแก้ว (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๕– ๒๕๕๐) ๔. นายขุนศึก ชาวสระใคร (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐– ๒๕๕๓) ๕. นายศิรสิทธิ์ สมศรีทอง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๔–๒๕๖๓) ๖. นายศิรสิทธิ์ สมศรีทอง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๔–ปัจจุบัน) ข้อมูลทั่วไป ๑.๑ ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลตำบลไชยวาน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๖๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ Ø ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี , อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร Ø ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี Ø ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี , อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร Ø ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกู่แก้ว , อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ๑.๒ เนื้อที่ มีเนื้อที่ ๓๒๖.๑๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐๓,๘๔๗ ไร่ พื้นที่การเกษตร ประมาณ ๑๔๑,๕๑๕ ไร่ ๑.๓ ภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง ลักษณะพื้นที่เป็นป่าละเมาะสลับกับทุ่งนา มีความลาดชันจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ มีลำน้ำและลำห้วยที่สำคัญ ๒ สายไหลผ่าน ได้แก่ ๑) ลำห้วยสงคราม ไหลผ่านทิศตะวันออกของอำเภอไชยวาน มีลำห้วยกระจายเต็มพื้นที่ตำบลไชยวาน และตำบลคำเลาะ ๒) ลำห้วยไพจานใหญ่ เป็นลำห้วยขนาดใหญ่สายหลักไหลผ่านพื้นที่ตำบลโพนสูงและตำบลหนองหลัก ๑.๓ การปกครอง แบ่งออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านไชยวาน , หมู่ที่ ๒ , หมู่ที่ ๓ , หมู่ที่ ๗ บ้านหนองตูม , หมู่ที่ ๘ บ้านเพียปู่ , หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเรือ , หมู่ที่ ๑๑ บ้านค่ายเสรี , หมูที่ ๑๒ บ้านป่าตาล , หมูที่ ๑๓ และหมูที่ ๑๗ ๑.๔ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง สวนยางพารา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป ๑.๕ แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ ๑. วัดป่าสันติกาวาส บ้านหนองตูม หมู่ที่ ๗ ตำบลไชยวาน ๒. วัดกู่แก้ววิทยาราม บ้านเพียปู่ หมู่ที่ ๘ ตำบลไชยวาน (มีพระพุทธรูปสำคัญและวัตถุโบราณจำนวนมากที่ได้รับการขึ้นะเบียนโบราณวัตถุกับกรมศิลปากร) ๓. สวนสาธารณะหนองไชยวาน บ้านไชยวาน หมู่ที่ ๒ , หมู่ที่ ๑๑ ตำบลไชยวาน ๑.๖ ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม อยู่ในสังคมที่ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีตามบรรพบุรุษประเพณีที่สำคัญอละมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คือภาษาอีสาน สิ่งที่โดดเด่นในชุมชน คือ ผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์จากกก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นในชุมชนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน ทั้ง ๑๒ เดือน ที่สำคัญคือ ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ที่วัดป่าสันติกาวาส บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่ บุญพระเวสสันดรชาดก ประเพณีสรงกู่ที่วัดกู่แก้ว บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา บุญกฐิน ลอยกระทง และอื่นๆ
insert_drive_file
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลไชยวานมีเนื้อที่ 10.4 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ 191 หมู่ที่ 2 บ้านไชยวาน ถนนไชยวาน-ศรีธาตุอยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 62 กิโลเมตร เทศบาลตำบลไชยวานจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เดิมเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล ฐานะเป็นสุขาภิบาลไชยวาน และต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั้งหมดทั่วประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นผลให้สุขาภิบาลไชยวาน เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลไชยวานตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 เทศบาลตำบลไชยวานได้ปรับขนาดเทศบาล จากเทศบาลขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง
ประชากร/หมู่บ้าน เทศบาลตำบลไชยวานมีทั้งหมดจำนวน10หมู่บ้าน
ข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2558 สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น(ผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 - จำนวนผู้มีสิทธิ 6,168 คน - จำนวนผู้ไปใช้สิทธิ 3,936 คน - คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 63.81 % - จำนวนบัตรเสีย 73 ใบ - คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 1.85 %
ที่ตั้งอาณาเขตเขตการปกครองของเทศบาลตำบลไชยวาน
ด้านเหนือตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) – ศรีธาตุ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ไปทางทิศตะวันตก ระยะ 500 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน- คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22(บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน- คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) -ศรีธาตุ ตามแนวทางหลวง จังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง) -ศรีธาตุไปทิศตะวันออกผ่านห้วยเอเฮ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออก ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ไปทิศตะวันออก ระยะ 800 เมตร จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งอยู่ริมถนน รพช.อุดรธานี 11010 ไชยวาน-คำบอน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ไปทิศตะวันออก ระยะ 800 เมตร จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนไปบ้านหนองแซง ถึง หลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแซง ฟากตะวันตกตรงจุดที่อยู่ห่าง จากศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี 11010 ไชยวาน – คำบอน ตามแนวถนนไปบ้านหนองแซง ไปทางทิศใต้ ระยะ 1,200 เมตร ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านห้วยกุดลม และ ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตัดกับ ถนนไปบ้านหนองแวง ตามแนว ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศใต้ ระยะ 2,200 เมตร จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทิศตะวันตกระยะ 500 เมตร ถึงหลักเขตที่ 8 ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 2239 แยกทางหลวงหมายเลข 22 (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ระยะ 500 เมตร ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านหนองแวงและถนนไปบ้านคำยาง บรรจบหลักเขตที่ 1
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมสามฤดู - ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม - ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนโดยเฉลี่ยปริมาณ สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรในเขตเทศบาลตำบลไชยวานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่การทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์เช่นโคกระบือเลี้ยงสัตว์น้ำนอกจากนี้ยังมีอาชีพค้าขายรับจ้างผลผลิตที่สำคัญได้แก่ข้าวอ้อยมันสำปะหลังและพืชผักสวนครัว - ด้านการพาณิชย์ภายในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีสถานบริการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่นได้แก่ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านเสริมสวยร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าร้านซ่อมเครื่องยนต์และร้านถ่ายรูปเป็นต้น - ประชากรในเขตเทศบาลมีรายได้จากการรวมกลุ่มผลิตสินค้าเช่นประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ทำเครื่องจักรสานทำน้ำพริกสมุนไพรซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้พอสมควร ด้านการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลไชยวานมีสถานที่ที่จัดให้มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่สวนสาธารณะหนองไชยวานและมีกมโลเจดีฐ์วัดป่าสันติกาวาสองค์หลวงปู่วัดกู่แก้ววิทยารามซึ่งเป็นโบราณวัตถุเก่าแก่เป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไป ด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีวัดทั้งหมด10วัดดังนี้ 1. วัดป่าสันติกาวาส 6. วัดอุดมมงคล 2. วัดกู่แก้ววิทยาราม 7. วัดป่าไชยวาน 3. วัดโพธิ์ทอง 8. วัดมงคลศรีไชยวาน 4. วัดไชยนาถวราราม 9. วัดโนนสังกา 5. วัดท่าบ่อวารีรินทร์ 10. วัดศรีเพียปู่ มีประเพณีตาม ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ที่สำคัญดังนี้ 1. ประเพณีเดือนอ้าย ( เดือนธันวาคม) ประเพณีเข้ากรรม 2. ประเพณีเดือนยี่ (เดือน มกราคม) ประเพณีทำบุญข้าวคูณลาน 3. ประเพณีเดือนสาม (เดือน กุมภาพันธ์) ประเพณีบุญข้าวจี่ 4. ประเพณีเดือนสี่ (เดือนมีนาคม) ประเพณีบุญมหาชาติ บุญผะเหวด 5. ประเพณีเดือนห้า (เดือน เมษายน) ประเพณีสงกรานต์ 6. ประเพณีเดือนหก (เดือนพฤษภาคม) ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญสรงกู่ 7. ประเพณีเดือนเจ็ด (เดือนมิถุนายน) ประเพณีบุญเบิกบ้าน,บุญเลี้ยงอาฮักหลักบ้าน, บุญเลี้ยงผีตาแฮก 8. ประเพณีเดือนแปด (เดือนกรกฎาคม) ประเพณีบุญข้าวพรรษา 9. ประเพณีเดือนเก้า (เดือนสิงหาคม) ประเพณีบุญข้าวประดับดิน 10. ประเพณีเดือนสิบ (เดือนกันยายน)ม ประเพณีบุญเข้าสากหรือข้าวสารท 11. ประเพณีเดือนสิบเอ็ด (เดือนตุลาคม) ประเพณีบุญออกพรรษา 12.ประเพณีเดือนสิบสอง (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีบุญกฐิน,ประเพณีลอยกระทง ด้านการศึกษา เทศบาลตำบลไชยวานมีโรงเรียนทั้งหมด 4 แห่ง คือ 1. โรงเรียนไชยวานวิทยา (โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา) 2. โรงเรียนอนุบาลไชยวาน (สังกัดสพฐ เขต 3) 3. โรงเรียนเพียปู่- หนองเรือ (สังกัดสพฐ เขต 3) 4. โรงเรียนร่มเกล้า2 (สังกัดสพฐ เขต 3) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง คือ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบ่อวารีรินทร์ (สังกัดกรมศาสนา) 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไชยนาถวราราม (สังกัดกรมศาสนา) 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอุดมมงคล (สังกัดกรมศาสนา) 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียปู่-หนองเรือ (สังกัดกรมพัฒนาชุมชน) 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลไชยวาน (สังกัดสปช.) และมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง ด้านสาธารณสุข เทศบาลตำบลไชยวานมีโรงพยาบาลจำนวน1แห่งคือโรงพยาบาลไชยวานขนาด30เตียง มีสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง มีร้านขายยา จำนวน 5 แห่ง มีอัตราการใช้ส้วมราดน้ำครบทุกครัวเรือน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม/ขนส่ง มีการติดต่อทางบกทางเดียวโดยมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข2239ตัดผ่านทางทิศตะวันตกถนนร.พ.ช. อด. 11010ตัดผ่านกลางชุมชนเชื่อมหมู่บ้านต่างๆภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียงมีรถโดยสารประจำทางจากเทศบาลตำบลไชยวานถึงอุดรธานีวันละ10เที่ยวและมีรถศรีธาตุหนองหานผ่านทุก30นาทีการบริการรถโดยสารประจำทางไม่มีปัญหาในการเดินทาง การบริการไฟฟ้า ภายในเขตเทศบาลตำบลไชยวานมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนมีบริการไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะทางหลวงจังหวัดและถนนสายหลักทุกหมู่บ้าน การประปา เทศบาลตำบลไชยวานได้รับโอนกิจการประปาจากกรมโยธาธิการและเทศบาลตำบลไชยวานได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนแล้ว จำนวน1,751ครัวเรือนสามารถผลิตน้ำประปาได้1,178,467 ลิตร/วันมีรายได้จากกิจการประปา3,371,858.-บาท(ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2554) การสื่อสารและการคมนาคม เทศบาลตำบลไชยวานมี ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 15 แห่ง หอกระจายข่าวในพื้นที่เทศบาล จำนวน 10 แห่ง แหล่งน้ำ เทศบาลตำบลไชยวานมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค จำนวน 8 แห่ง ดังนี้ 1. หนองไชยวาน 5. หนองยาง 2. หนองเพียปู่ 6. ห้วยกุดลม 3. หนองชาด 7. ห้วยเอเฮ 4. หนองตูม 8. หนองเรือ